เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคมนี้ได้รับเชิญให้เป็นพิธีกร เนื่องในงานมงคลสมรสของหนุ่ม ก็เลยอยากจะพูดถึงความรัก เหตุแห่งรัก และหลายๆอย่างที่เกี่ยวกับความรัก และจะพูดถึงการแต่งงานด้วยว่า คืออะไร
เมื่อพูดถึงความรักแล้ว ทำให้ผู้เขียนนึกถึงเพลงๆ หนึ่งซึ่งน่าจะสอดคล้องกับเรื่องนี้นั่นคือเพลง บุพเพสันนิวาส นั่นเอง ลองมาดูเนื้อหาของเพลงกันหน่อยนะครับ
เมื่อคิดให้ดีโลกนี้ประหลาด บุพเพสันนิวาส ที่ประสาทความรักภิรมย์ คู่ใครคู่เขา รักจะคอยเฝ้าชม คอยภิรมย์ เรื่อยไป
ขอบน้ำขวางหน้าขอบฟ้าขวางกัน บุพเพยังสรรค์ประสบ ให้ได้พบสบรักกันได้ ห่างกันแค่ไหน เขาสูงบังกันไว้ รักยังได้บูชา
ความรักศักดิ์ศรี รักไม่มีพรมแดน รักไม่มีศาสนา แม้นใครบุญญา ได้ครองกันมา พรหมลิขิตพาชื่นใจ
รักเหมือนโคถึกที่คึกพิโรธ ความรักเช่นนั้นให้โทษ จะไปโกรธโทษรักไม่ได้ ไม่ใช่บุพเพ สันนิวาสแน่ไซร้ รักจึงได้แรมรา
หากดูจากเพลงจะเห็นว่า ท่อนที่ 1-3 นั้น พูดถึงความรักที่สมหวังคือได้แต่งงานกัน เนื้อหาแต่ท่อนที่4 เป็นความรักที่ผิดหวัง คือไม่ได้แต่งงานกัน
ดูจากเพลงแล้ว จะเห็นว่ามีการแทรกธรรมะเอาไว้ในเพลงด้วย คือพูดถึงความรักที่แบบบุพเพสันนิวาส เพราะในทางพุทธศาสนานั้น ได้กล่าวถึงความรักเอาไว้ดังนี้
ความรักเกิดขึ้นจากเหตุ 2 ประการคือ การเคยอยู่ร่วมกันมาในชาติก่อน 1 การเกื้อกูลกันในชาติปัจจุบัน 1 ดังพุทธภาบิตว่า
ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปนฺนหิเตน วา เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปฺปลํ ว ยโถทเก
แปลว่า ความรัก ย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ 2 ประการคือ เพราะอยู่ร่วมกันในปางก่อน 1 เพราะเกื้อกูลกันในปัจจุบัน 1ดุจดอกบัวเกิดในน้ำ ( เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ ) ฉะนั้น ตามพุทธภาษิตนี้ ความรักเกิดจากสาเหตุ 2 ประการคือการเคยอยู่ร่วมกันในปางก่อน หรือการเกื้อกูลกันในชาติปัจจุบัน ความรักเกิดจาดสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งในสองสาเหตุนั้นเพราะท่านใช้คำว่า " วา " แปลว่า " หรือ " ความหมายว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่สองอย่างรวมกัน ถ้าใช้สาเหตุสองอย่างรวมกันต้องใช้ศัพท์ว่า " จ " แปลว่า " และ " เมื่อดูคำแปลในวงเล็บเปิด - ปิด ตอนท้ายว่า ( เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ ) ทำให้เข้าใจว่าบางกรณีความรักเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือการเคยอยู่ร่วมกันในปางก่อน และการเกื้อกูลกันในชาติปัจจุบันถ้านำสาเหตุความรัก 2 ประการมารวมกัน ความรักที่สมหวังและแต่งงานเป็นสามีภรรยากันในปัจจุบัน ก็มีตัวอย่างให้เห็นมากทีเดียวหรือความรักที่สมหวังจนได้แต่งงานเป็นสามีภรรยากันเพราะสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งในสองสาเหตุนั้น ก็มีให้พบเห็นไม่น้อยทีเดียว ในปัจจุบันคู่รักบางคู่ เคยรักกันมาตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน นักศึกษา แม้สำเร็จการศึกษาแล้ว ทำงานในสถานที่แห่งเดียวกันหรือแตกต่างกัน ทั้งคู่ยังรักกัน จนคนทุกคนที่รู้จักพวกเขาคิดว่าคู่รักคู่นี้ต้องแต่งงานกัน แต่แล้วคู่รักคู่นี้กลับไม่ได้แต่งงานกันอย่างที่คนทุกคนคาดคิด ฝ่ายชายกลับเลือกสตรีสาวอื่นเป็นภรรยา ส่วนฝ่ายหญิงก็เลือกชายหนุ่มอื่นเป็นสามี คนทั้งสองที่รักกันมานานและตั้งใจว่าจะแต่งงานกันกลับไม่ได้แต่งงานกัน ความรักลักษณะนี้จัดเป็นความรักที่ผิดหวัง ตรงกันข้ามถ้าคู่รักคู่นี้ได้แต่งงานกันก็จัดเป็นความรักที่สมหวัง ความรักที่สมหวังหรือผิดหวัง จัดเป็นความรักแบบบุพเพสันนิวาสโดยแท้
สามีภรรยาบางคู่อาจแต่งงานกันเพราะสาเหตุเกิดจากการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เช่น คนสองคนทำงานในสถานที่แห่งเดียวกันมีความสนิทสนมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้คำแนะนำปรึกษา หาวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมกัน ในขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาอัธยาศัยความประพฤติของกันและกัน ในที่สุดความรักก็เกิดขึ้น คนทั้งสองก็แต่งงานกัน
สามีภรรยาบางคู่อาจจะประกอบอาชีพแตกต่างกัน อยู่ห่างไกลกัน คนทั้งสองเมื่อรู้จักกัน ก็ติดต่อมีความสัมพันธิ์กันตลอดที่สำคัญที่สุดคือได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เห็นอกเห็นใจกันและกัน ความรักย่อมเกิดขึ้นในคนทั้งสองและจัดการแต่งงานในที่สุด
สามีภรรยาบางคู่ อาจรักและแต่งงานเพราะการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในปัจจุบันและเพราะความรักในชาติก่อนติดตามให้ผลในปัจจุบันเช่น คนสองคนมีอาชีพเหมือนกัน ทำงานในที่แห่งเดียวกัน สนิทสนมกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และความรักในชาติปางก่อนยังคอยผลิตผลรักอยู่คนทั้งสองมีความรักกันและแต่งงานกัน บางคู่อาจมีอาชีพแตกต่างกัน อยู่ห่างไกลกัน คนทั้งสองเมื่อรู้จักกันติดต่อมีความสัมพันธ์กันตลอดถึงจะต่างเชื้อชาติต่างศาสนากันก็ตาม คนสองคนติดต่อกัน ช่วยเหลือกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัตถุสิ่งของเงินทองหรือด้านจิตใจและมีรักในชาติก่อนหนุนอยู่ คนทั้งสองก็รักกันและแต่งงานกันในที่สุด
โลกของเรามีหลายเชื้อชาติศาสนา มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมแตกต่างกัน สามีภรรยาบางคู่อาจมีความรักและแต่งงานกันจากสาเหตุอื่นๆนอกจากที่กล่าวมาก็ได้ ตามหลักพุทธศาสนาเหตุแห่งความรักมีสองประการ ตามที่กล่าวมาแล้ว
พุทธภาษิตที่กล่าวถึงเหตุแห่งความรักสองประการนั้น มีปรากฏในคัมภีร์ธรรมบท พระสุตตันตปิฎก และคำภีร์อรรถกถาธรรมบทในคำภีร์อรรถกถาธรรมบทมีกล่าวพุทธสุภาษิตนี้ถึง 2 เรื่อง คือเรื่องพระนางสามาวดี ( ภาค 2 ) และเรื่องนายพรานกุกุกฎมิตร ( ภาค 5 )ขอนำเสนอ 1 เรื่องโดยย่อดังนี้
ในแคว้นอัลลกัปปะ ได้เกิดทุพภิกขภัยและโรคอหิวาต์ระบาด สามีภรรยาคู่หนึ่ง ชายชื่อ โกตุหลิก หญิงชื่อ กาลีเดินทางออกไปหากินที่เมืองโกสัมพี พักอยู่กับครอบครัวนายโคบาล นายโคบาลสงสารจึงได้ให้อาหารแก่พวกเขาวันนั้นนายโคบาลทำขวัญโคและถวายอาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า นายโกตุหลิกดูนายโคบาลเลี้ยงดูสุนัขคิดว่าสุนัขตัวนี้มีบุญพอตกกลางคืน นายโกตุหลิกก็ตายไปเกิดในท้องสุนัข ต่อมาสุนัขคลอดลูก นายโคบาลเลี้ยงลูกสุนัขนั้น วันหนึ่งนายโคบาลไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้ามาฉันอาหารที่เรือน พระปัจเจกพุทธเจ้าให้อาหารแก่สุนัข สุนัขก็เกิดความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า วันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้ามาลานายโคบาลไปที่อื่น ขณะที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหาะกลับไป สุนัขตายไปเกิดเป็นเทพบุตรเสวยทิพย์สมบัติเป็นเวลานาน ต่อมาจุติมาเกิดเป็นมนุษย์เป็นบุตรของนางโสเภณี นางโสเภณีพอรู้ข่าวว่าได้บุตรชายจึงให้นางทาสีนำไปทิ้ง เพราะนางโสเภณีจะเลี้ยงลูกหญิงเท่านั้น ต่อมามีคนไปพบนำไปเลี้ยง ปุโรหิตพบเศรษฐีบอกว่าวันนี้เป็นวันดีเป็นวันมหาฤกษ์ เด็กเกิดวันนี้จะได้เป็นเศรษฐีเมืองโกสัมพี ครั้งนั้นภรรยาเศรษฐีมีครรภ์แก่ เขาให้เงินคนใช้ไปซื้อเด็กที่เกิดในวันนั้นและได้เด็กคนนั้นมาเลี้ยง ต่อมาภรรยาคลอดลูกเป็นชาย เศรษฐีจึงให้คนใช้นำเด็กคนนั้นไปฆ่าด้วยวิธีการต่างๆ ไม่สำเร็จ
ต่อมาลูกชายเศรษฐีเจริญเติบโตขึ้น ชอบเล่นคลีพนันกับเด็กเพื่อนบ้าน และแพ้พนันทุกครั้ง เศรษฐีหาโอกาสฆ่าโฆษกะจึงไปหาช่างหม้อบอกว่า มีลูกชายชั่วช้าคนหนึ่ง เมื่อเขามาถึงบ้าน ขอให้ฆ่าเด็กคนนั้นเสีย เศรษฐีบอกโฆษกะไปบ้านนายช่างหม้อโฆษกะไปบ้านนั้นตามที่เศรษฐีสั่ง ขณะเดินออกไปนอกบ้านได้พบลูกชายเศรษฐี ลูกชายเศรษฐีบอกให้เล่นคลีแทนตนเองขออาสาไปบอกข่าวบ้านช่างหม้อ โฆษกะพูดอ้อนวอนก็ไม่สำเร็จ โฆษกะเล่นคลีและได้ชัยชนะตลอดส่วนลูกชายเศรษฐีได้ไปบ้านช่างหม้อ ช่างหม้อได้ฆ่าลูกชายเศรษฐีที่เตาถ่าน ในเวลาเย็นโฆษกะกลับบ้านเศรษฐีทราบความที่ลูกชายของตน ไปบ้านช่างหม้อแทนโฆษกะ เขาก็เกิดความทุกข์มากชนิดให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัวต่อมาเศรษฐีคิดอุบายฆ่าโฆษกะอีกโดยเขียนจดหมายไปบอก เสมียนผู้เก็บส่วยส่งให้ชนบทในจดหมายเขียนว่าให้นายเสมียนฆ่าผู้ถือจดหมายฉบับนี้ เศรษฐีบอกโฆษกะให้นำจดหมายนี้ไปส่งเสมียนเก็บส่วย โฆษกะไม่รู้หนังสือได้ผูกจดหมายไว้ที่ชายผ้าโฆษกะออกเดินทางไปถึงบ้านเศรษฐีชนบท ภรรยาเศรษฐีทราบว่าโฆษกะมาที่บ้าน นางได้พบ และเกิดความรักใคร่เหมือนลูกของตัวเองต่อมาลูกสาวของเศรษฐีทราบว่าลูกเศรษฐีชื่อว่าโฆษกะ มาที่บ้านเท่านั้น ความรักอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เสียดแทงหัวใจของนางความจริงลูกสาวเศรษฐีในชาตินี้ก่อนเคยเป็นภรรยาของนายโฆษกะในชาติที่เขาเป็นนายโกตุหลิก
นางถวายข้าวสุกทะนานหนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงได้เกิดเป็นลูกสาวเศรษฐี ความรักในชาติก่อนยังคอยติดตามให้ผลอยู่ความรักนั้นได้ท่วมทับยึดมั่นหัวใจลูกสาวเศรษฐีเหมือนหนึ่งห้วงน้ำใหญ่ท่วมทับ นางลงไปพบเขากำลังหลับและได้พบจดหมายที่ชายผ้าจึงนำมาอ่านและทราบว่าเขาไม่รู้หนังสือนำจดหมายฆ่าตัวเอง นางจึงเปลี่ยน เขียนจดหมายอีกฉบับหนึ่งมีใจความว่าลูกชายเศรษฐีชื่อโฆษกะไปพบเสมียนเก็บส่วย ขอให้เสมียนต้อนรับให้ดี จัดการสร้างบ้านเป็นเรือนหอสองชั้นจัดให้โฆษกะแต่งงานกับลูกสาวเศรษฐีชนบท พร้อมทั้งทำการอารักขาให้แข็งแรง เสร็จแล้วให้ส่งข่าวให้ทราบ
นางฉีกจดหมายฉบับเก่าทิ้ง และนำจดหมาบฉบับใหม่ผูกที่ชายผ้า นายโฆษกะตื่นนอนกินอาหารเรียบร้อยแล้วออกเดินทางไปบ้านเสมียนเสมียนได้ตอบรับเขา และได้อ่านจดหมายเขาจัดการสร้างเรือนหอและจัดการแต่งงานให้โฆษกะเรียบร้อยแล้วส่งข่าวไปบอกเศรษฐีพอเศรษฐีได้ทราบข่าวนั้น ความทุกข์และโรคภัยไข้เจ็บก็เกิดขึ้น ในที่สุดเศรษฐีก็ตาย พระเจ้าโกสัมพี จึงได้แต่งตั้งนายโฆษกะเป็นเศรษฐีเมืองโกสัมพี
ในวรรณคดีพุทธศาสนามีสามีภรรยาจำนวนมากที่แต่งงานกันเพราะมีความรักแบบบุพเพสันนิวาสหรือความรักเกื้อกูลกันในปัจจุบัจบางคู่เมื่อแต่งงานกันแล้วก็มีความสุข บางคู่ก็ประสบความทุกข์ทรมาน
ในด้านหลักธรรมทางพุทธศาสนามีว่า คนปุถุชนที่มีกิเลศมีตัณหาราคะสิเนหะ ย่อมมีความรัก ความรักของปุถุชนเป็นความรักที่มีความทุกข์มากมีความสุขน้อย ท่านเปรียบเหมือนสุนัขแทะกินเนื้อติดกระดูก ฉะนั้นโลกิยะสุขคือความสุขของชาวโลกรวมถึงเทวโลกและพรหมโลก เป็นความสุขที่ไม่จิรังยั่งยืน เป็นอนิจจัง ทุกขังและอนัตตา คนที่มีความรัก เมื่อพลัดพรากจากความรักย่อมเศร้าโศกเป็นทุกข์ ส่วนคนที่ปราศจากความรัก ย่อมไม่มีความเศร้าโศก ดังพุทธภาษิตว่า
เปมโต ชายเต โสโก เปมโตชายเต ภยํ เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ
แปลว่า ความเศร้าโศก ย่อมเกิดแต่ความรัก ความเศร้าโศก ย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน
กล่าวโดยสรุป เพลงบุพเพสันนิวาสนี้ พรรณนาถึงความรักสองอย่าง คือ ความรักแบบบุพเพสันนิวาส และความรักไม่ใช่บุพเพสันนิวาสความรักแบบบุพเพสันนิวาส เป็นความรักที่ดีงามมีศักดิ์ศรี อุปสรรคใดๆ ไม่สามารถขวางกั้นได้ ความรักอย่างนี้ทำให้คนแต่งงานกันได้ส่วนความรักที่ไม่ใช่บุพเพสันนิวาส เป็นความรักเหมือนโคถึกคือวัวตัวผู้หนุ่มที่คึกคะนองเวลาโกรธ ความรักชนิดนี้เป็นความรักที่รุนแรงร้อนแรงโลดแล่นร่าเริงไปตามอารมณ์รัก อารมณ์เกลียด อารมณ์โกรธ สุดท้ายก็เลิกรา แรมราไม่ได้แต่งงานกัน
อย่างไรก็ดีความรักนี้พลานุภาพสามารถทำโลกกลมๆ ใบนี้เป็นสวรรค์หรือนรกได้ เพราะฉะนั้น พวกเราควรสร้างโลกนี้ให้เป็นสวรรค์บนพื้นดินอันน่าภิรมย์ร่มเย็นต่อไป อย่าสร้างโลกนี้ให้เป็นเมืองผีเมืองมาร เดี๋ยวจะเป็นการเปลี่ยนเพลงบุพเพสันนิวาสเป็นเพลงบุพเพอาละวาด นะจะบอกให้
เมื่อเกิดมีความรักแบบสมหวังการ แต่งงานก็จะตามมาตามที่กล่าวข้างต้น
การแต่งงานคืออะไร
หลายๆคนคงจะสงสัยว่าการแต่งงานจะแต่งเพื่ออะไร ไม่แต่งงาน ต่อยู่ร่วมกันเฉยๆไม่ได้หรืออย่างไร จริงๆแล้วในสภาพสังคมปัจจุบันนั้นก็คงมีหลายๆคู่ที่กระทำเช่นนั ้น แต่การแต่งงานมีความหมายมากกว่าการอยู่ร่วมกันเฉยๆอย่างลึกซึ้ง ทีเดียว
การแต่งงานเป็นจุดเร่มต้นของชีวิตครอบครัวของมนุษย์ที่อยู่รวมก ันเป็นสังคม ผู้ที่สามารถแต่งงานกันได้ก็คือ ชาย และหญิง ที่ได้เข้าพิธีแต่งงานเป็นปกติตามจารีตประเพณีที่มีอยู่ในสังคม นั้นๆ การแต่งงานคือการประกาศว่าคนทั้ง 2 คนจะยินยอมอยู่ร่วมชีวิตเป็นสามีภรรยา และถ้าเกิดให้กำเนิดบุตร ทั้ง 2 คนก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรของตนเองด้วย ไม่สามารถปฎิเสธความรับผิดชอบที่แต่ละคู่จะมีต้องบุตรและการดูแ ลบุตรให้เป็นคนดีของสังคมต่อไปภายภาคหน้าด้วย การแต่งงานจึงมีความสำคัญต่อบุคคลต่างๆในสังคมด้วยเหตุนี้นั่นเ อง
ความหมายของคำว่า “แต่งงาน”
เราลองมาแยกพิจารณาความหายของคำว่า แต่งงานดูเราจะได้ความหมายดังนี้
คำว่า แต่ง หมายถึง จัดให้งาม ทำให้ดี
ส่วนคำว่า งาน หมายถึง การที่ต้องทำ
ดังนั้นเมื่อรวมเป็นคำว่าแต่งงาน ก็จะหมายถึง การที่ต้องทำเพื่อจัดให้งาม หรือทำให้ดี พิธีแต่งงานโดยทั่วไปจึงเน้นจารีตประเพณีที่ดีงามของสังคม และกระทำแต่สิ่งที่ดีและเป็นมงคลสำหรับการเริ่มต้นใช้ชีวิตครอบ ครัววร่วมกันนั่นเอง
ในอดีตพิธีแต่งงานจะเรียกอยู่ 2 อย่างคือ “ วิวาหมงคล ” หมายถึง การทำพิธีแต่งงานแล้วเจ้าสาวไปอยู่บ้านเจ้าบ่าวและ “ อาวาหมงคล ” เมื่อทำพิธีแล้วเจ้าบ่าวไปอยู่บ้านเจ้าสาว แล้วแต่กรณี จากนั้นค่อยเปลี่ยนเป็นมาใช้คำว่า งามมงคลสมรส ในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของการแต่งงาน
การแต่งงานก็มีวิวัฒนาการเช่นเดียวกับหลายๆสิ่งหลายๆอย่างในสัง คม และพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพวีถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม ณ ขณะนั้น วิวัฒนาการของการแต่งงานจึงสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้ดังนี้
1. การแต่งงานโดนการฉุดคร่า หรือการลักพาตัว โดยไม่คำนึงว่าฝ่ายหญิง หรือญาติจะพอใจหรือไม่ (อาจจะยังเห็นอยู่บ้างในบางสังคมที่ยังห่างไกลความเจริญมากๆ)
2. จากการฉุดคร่ากลายเป็นธรรมเนียมการเรียกร้องเอาเงินทอง แรงงาน หรือของใช้อย่างอื่น เช่น ฝ่าชายต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง ต้องมีเรือนหอ เมื่อหมั้นกันแล้ว ฝ่ายชายจะต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง จนกว่าจะถึงการกำหนดวันแต่งงาน หรืออาจจะต้องอยู่นานกว่านี้แล้วแต่ข้อตกลง เป็นต้น
3. การแต่งงานด้วยความรักอันบริสุทธิ์ เป็นการแต่งงานที่ฝ่ายชายและหญิงเกิดความรักซึ่งกันและกันจนสมั ครใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน
การแต่งงาน
พิธีแต่งงานจะเริ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายชายจัดผู้หลักผู้ใหญ่เ ป็นตัวแทนไปเจรจาสู่ขอฝ่ายหญิง ทางผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงตกลงปลงใจยอมยกให้ และฝ่ายชายยอมรับจัดทำตามข้อเรียกร้องของฝ่ายหญิง
ในอดีต การแต่งงานจะเป็นลักษณะที่ผู้ใหญ่เป็นผู้ที่คอยสอดส่องดูแลจัดห าให้ โดยฝ่ายชายก็จะกระทำดูหรือสอบถาม สาวบ้านไหนที่มีกริยามารายามเรียบร้อยเป็นแม่บ้านแม่เรือน เป็นคนขยันขันแข็ง ไม่มีชื่อเสีย หน้าตาหมดจด ฯลฯ หรืออะไรที่ดีเหมาะสมตามแต่ในยุคสมัยหรือท้องถิ่นนั้นๆ
ถ้าเกิดมีการทาบทามโดยการใช้พื่อสื่อหรือแม่สื่อ ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงก็จะสอบถามดูเช่นกันว่าฝ่ายชายเป็นลูกเต้าเหล่า ใคร เป็นคนเรียบร้อนขยันทำมาหากินหรือเปล่า เคยบวชเรียนแล้วหรือยัง และสอบถามเรื่องอื่นๆพอสมควร แต่ถ้ายังไม่แน่ใจก็จะขอผัดเวลาตรึกตรอง หรือขอวันเดือนปีของฝ่ายชายเพื่อนำไปผูกดวงเสียก่อน เพื่อที่จะได้มีเวลาดูความประพฤติของฝ่ายชาย ถ้าไม่มีปัญหาอะไรขั้นตอนแรกของการแต่งงานก็เริ่มขึ้น
การส่งเฒ่าแก่ทาบทาม(การสู่ขอ)
ฝ่ายชายจะหาเฒ่าแก่โดยจะขอให้ ผู้ที่มีหน้าตา หรือเป็นผู้ใหญ่สูงอายุ มีคนนับหน้าถือตา ซึ่งจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ ซึ่งการส่งเฒ่าแก่ทาบทามในครั้งนี้จะเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น และสามารถเตรียมฤกษ์ยามไปได้เลยก็ได้ จากนั้นเจรจาตกลงเรื่องขันหมากหมั้นและวันหมั้นไปสู้ขอตามธรรมเ นียม ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการสู่ขอ แต่ก่อนที่จะส่งเฒ่าแก่ทาบทาม ควรที่จะแจ้งให้ฝ่ายหญิงทราบด้วยเพื่อที่จะได้เตรียมการรับรองไ ด้อย่างเหมาะสม
การหมั้นหมาย
เมื่อถึงวันฤกษ์ดีตามที่ได้ตกลงกันแล้ว ทางฝ่ายชายก็จะจัดเตรียมขันหมากหมั้น โดยจะมีส่วนประกอบดังนี้ คือ หมากดิบทั้งลูก 8 ผล พลู 4 เรียง บรรจุลงในขัน 1 ใบ อีก 1 ขันจะบรรจุทองหมั้นหรือเงินหมั้นของหมั้นและก็นิยมบรรจุสิ่งของ อื่นๆลงในขันทองหมั้นด้วยเช่นให้ใส่ถุงเล็กๆบรรจุถั่วเขียว ข้าวเปลือก ข้าวตอก งาดำ อย่างละถุง และเอาใบเงิน ใบทอง และใบนากรองก้นขัน เป็นต้น และอาจจะเพิ่มดอกรักที่เด็ดเอาทั้งช่อที่เป็นยอดเพื่อเอาความหม ายว่า “ ยอดรัก ” ก็ได้เช่นกัน นอกจากนนี้อาจจะมีแป้งหมักเพื่อเอาความหมายให้ฟูเฟื่องด้วย ส่วนทองรูปพรรณก็มักจะนิยมใช้กระดาษแดงห่อแล้ววางบนใบเงินใบทอง อีกครั้งนึง(สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม) เครื่องขันหมากนอกจะเป็นพวกขนมและผลไม้ใส่ถาม ซึ่งจะมีจำนวนมากหรือน้อย ตามแต่ที่ตกลงกันโดยมากจะเป็นจำนวนคู่มากกว่าจำนวนคี่ (ของในขันหมากหมั้นนี้อาจจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดได้แล้ วแต่ประเพณีของแต่ละท้องถิ่น) บางรายอาจจะเรียกน้ำตาลทรายเป็นของหมั้นด้วย(น้ำตาลหมั้นนี้เมื ่อฝ่ายหญิงได้รับมักไปแบ่งแจกจ่ายแก่ผู้รู้จักมักคุ้น เพื่อประกาศให้ทราบว่าได้มีการหมั้นเกิดขึ้นแล้ว และน้ำตาลที่เหลือก็จะเก็บไว้ทำขนมในวันงาน)
พิธีหมั้น
เมื่อได้เวลาฤกษ์ เฒ่าแก่(มักจะเป็นคู่สามีภรรยา หรือคนเดียวก็ได้)เป็นผู้นำไปมอบให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง เมื่อเดินทางถึงบ้านฝ่ายหญิง จะมีเด็กหญิงถือพานหมากเล็ก(ภายในพานจะมีหมากพลูที่เจียนและจีบ แล้ว)ออกมารอรับและยื่นพานหมากแก่เฒ่าแก่ฝ่ายชาย เฒ่าแก่ฝ่ายชายเมื่อรับพานหมากแล้วจะส่งเงินเป็นของขวัญให้กับเ ด้กที่ถือพานหมากต้อนรับ พร้อมทั้งคืนพานหมากให้ไปด้วย แล้วเดินตามเด็กเข้าไปยังสถานที่ที่ได้จัดเตรียมไว้ โดยจะมีเฒ่าแก่ฝ่ายหญิงคอยต้อนรับอยู่แล้วเช่นกัน เมื่อจัดวางขันหมากและบริวารในที่ที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว ก็จะเริ่มเข้าสู่การเจรจา โดยการเจรจาจะกระทำดังต่อไปนี้
ท่านที่เป็นเฒ่าแก่หมั้น ควรกล่าวแต่คำมงคล เมื่อไปถึงบ้านเจ้าสาว นั่งเรียบร้อยแล้ว ก็พูดกับเฒ่าแก่ฝ่ายหญิงว่า
“ ข้าพเจ้ามาในการมงคล ด้วยวันนี้เป็นวันฤกษ์งามยามดี ข้าพเจ้าจึงได้นำของหมั้น มาขอหมั้น(ออกชื่อ....)ซึ่งเป็นบุตรตรีของ(ออกชื่อบิดามารดา)ให ้กับ(ออกชื่ผู้ชาย)ซึ่งเป็นบุตร(ออกชื่อบิดามารดาฝ่ายชาย)ขอท่า นจงได้รับของหมั้นนี้ไว้ เพื่อเป้นเครื่องหมายแห่งความสุขความเจริญของบุคคลทั้งสองสิ้นก าลนาน ”
เมื่อกล่าวจบแล้ว จึงมอบของหมั้นให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงรับไป ขณะกล่าวก็จะเปิดผ้าคลุมขันหมากออก มอบให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงรับเอาไป เมื่อตรวจนับแล้วก็จะส่งของเลื่อนเข้าไปในห้องที่มีคนคอยรับอยู ่ข้างใน(ซึ่งจะเตรียมถ่ายของเพื่อคืนภาชนะเปล่าออกมา และมีของแถมพกสำหรับคนยกซึ่งฝ่ายเจ้าสาวจะต้องเตรียมให้กับทุกค น ตามจำนวนและฐานะของผู้มา สำหรับเฒ่าแก่ทั้ง 2 ฝ่ายก้ได้ของแถมสมนาคุณเช่นเดียวกัน แต่จะดีกว่าของคนอื่นในกระบวนขันหมาก) ระหว่างนี้ก็จะเป็นการเจรจาสนทนาทั่วๆไป จากนั้นก็เฒ่าแก่ฝ่ายชายก็จะพูดอีกเล็กน้อยว่า
“ ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้เห็นคุณสมบัติฝ่ายชาย เป็นผู้มีความเจริญด้วยชาติสกุล และเป็นผู้ที่มีอายุพอสมควร ซึ่งสมควรจะปกป้องรักษาภรรยาให้ถึงความรุ่งเรืองทั้งส่วนตัวและ ความเจริญแห่งสกุลทั้งสองได้ อีกทั้งเป็นผู้บริบูรณ์ในความรู้วิชาอันเป็นที่หวังในความเจริญ ซึ่งลาภยศสรรเสริญได้โดยสมบูรณ์ เมื่อข้าพเจ้าได้ทราบคุณสมบัติแห่งฝ่ายชายดังนี้ ข้าพเจ้าจึงปิติยินดีเป็นอันมาก(ควรที่จะพูดเรื่องความเจริญตาม ความเป็นจริงหรือที่เฒ่าแก่ทราบจริงๆ)ในที่สุดก็อำนวยพรให้แก่ค นทั้งสองถึงพร้อมด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ประกอบด้วยลาภยศบริวารจงทุกประการ ”
ครั้งเมื่อสมควรแก่เวลากลับ ก็จะพูดดังนี้
“ การมงคลของทั้งสอง ได้สำเร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ข้าพเจ้าขอลาสวัสดี ”
ในพิธีหมั้นนี้ทางฝ่ายหญิงก็จะจัดเตรียมอาหารเลี้ยงฝ่ายชายด้วย หรือจะไม่เลี้ยงก็ได้
ความหมายของพิธีนั้นนี้มีความสำคัญพอสมควรเพราะว่า พิธีหมั้นนั้นเหมือนกับว่าเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความแน่นอนไม่ กลับคำ ถ้าฝ่ายชายผิดสัญญา ฝ่ายชายจะเรียกขันหมากหมั้นคืนไม่ได้ เพราะฝ่ายหญิงเป็นหม้ายขันหมาก ถือว่าเป็นฝ่ายเสียหาย
แต่ถ้าฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จะต้องคืนขันหมากแก้ฝ่ายชายจนครบเป็นการชดใช้ค่าเสียหายเช่นกัน พิธีหมั้นจึงเป็นเครื่องหมายแสดงความตั้งใจจริงที่จะใช้ชีวิตคู ่ร่วมกันนั่นเอง
แต่ในปัจจุบันนิยมกระทำการหมั้นและแต่งภายในวันเดียวกัน เพราะความสะดวกนั่นเอง
การจัดเตรียมขันหมากเอก ขันหมากโท
ขันหมากเอก ประกอบไปด้วย
1. ขันหมากที่บรรจุหมากพลู และถือกันว่าขันสำหรับใส่หมากและพลูจะต้องเป้นขันที่มีขนาดใหญ่ กว่าขันอื่น
2. ขันสินสอด*
3. ขันเงินทุน*
*ขันสินสอดและขันเงินทุนอาจจะเป็นขันเดียวกันก็ได้ ซึ่งในแต่ละขันจะบรรจุถั่ว งา ข้าวเปลือก และอื่น (เหมือนกับขันหมากหมั้น) หรือจะบรรจุแต่เงินทุนและสินสอดเพียงอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน
4. เตียบ บรรจุอาหารคาวประกอบไปด้วย เหล้า 1 ขวด ไก่ย่างหรือไก่ต้ม 1 ตัว ขนมจีนน้ำยาและห่อหมกปลา และอาหารหวานมีมะพร้าวอ่อน ,ส้ม,กล้วย,ขนมชะมด ขนมกง จำนวน 1 คู่ (ถ้ามี)
5. พานผ้าไหว้ 3 สำรับ
สำรับที่ 1 เป็นผ้าขาวสำหรับนุ่ง 1 ผื่น และสำหรับห่ม 1 ผืน เป็นผ้าสำหรับการไหว้ผี
อีก 2 สำรับที่เหลือคือ ผ้าไหว้สำหรับพ่อแม่ ฝ่ายหญิง จะเป็นผ้านุ่งห่ม หรือจะอะไรก็ได้ตามความเหมาะสม
คนที่ยกขันหมากเอก จะใช้เด็กรุ่นสาว และต้องเป็นเด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้แต่งงานกันอย่าถูกต้อ งธรรมเนียมประเพณี แต่งตัวสวยงาม แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ให้หญิงที่แต่งงานแล้วถือก็ได้เช่นกัน แต่ห้ามหญิงหม้าย และแม่ร้าง ยกขันหมากเอก
ขันหมากโท ประกอบด้วย ขนมพื้นเมือง ขนมจันอับ และผลไม้ต่างๆใส่ภาชนะ มีธงกระดาษแดงปักกลางทุกภาชนะ โดยขันหมากโทจะจัดของเป็นคู่เช่นกัน จะมีจำนวนทั้งหมดกี่เท่าไหร่ก็ได้ ตามแต่จะตกลงกัน
เมื่อถึงเวลาเคลื่อนขบวนขันหมาก ก็จะมีการยิงปืนเพื่อให้สัญญาณ หรือจะใช้การโห่ฮิ้วรับ 3 ลา ก็ได้เช่นกัน หรือจะไปแบบเงียบๆก็ได้เช่นกัน เมื่อขบวนถึงบ้านเจ้าสาวก็จะโห่ฮิ้ว 3 ลาอีกเช่นกัน เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าขบวนขันหมากได้มาถึงแล้ว ฝ่ายเจ้าสาวจะจัดหาเด็ก 1 คน โดยมากจะเป็นเด็กหญิงแต่งตัวสวยงามเป็นผู้นำขันหรือพานขนาดเล็ก ที่บรรจุหมาก 4 ผล พลูจีบ 1 ซอง (พานหมากเชิญ)ออกมาต้อนรับ เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวรับขันหรือพานหมากเชิญแล้ว จะให้ของแถมพกแก่เด็กและพร้อมคืนขันหรือพานหมากด้วย
จากนั้นเด็กจะเดินนำหน้าพาเฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวขึ้นบนเรือนพร้อม ทั้งขบวนขันหมาก โดยจะมีการจัดขบวนดังนี้คือ เฒ่าแก่เดินนำหน้า ถัดมาเป็นคนยกขันหมากแต่งขันสินสอด ขันเงินทุน(ถ้ามี) ผ้าไหว้ และเตียบ(ถ้ามี) โดยลำดับ จากนั้นต่อด้วยขันหมากโทต่อท้ายขบวน
ระหว่างขบวนขันหมากไปถึงประตูบ้านเจ้าสาวแล้ว ก็จะมีปิดประตูขันหมาก หรือการกั้นประตู โดยมากจะมี 3 ประตู เฒ่าแก่ของฝ่ายเจ้าบ่าวจะถามชื่อประตูแต่ละประตู ซึ่งถ้าผู้กันประตูตอบชื่อประตูไม่ถูกก็จะไม่ได้ของแถมพก ชื่อประตูแต่ละประตูจะมี ประตูชัย , ประตูเงิน , ประตูทอง หรือ ประตูเงิน , ประตูทอง ,ประตูแก้ว หรือ ประตูเงิน , ประตูทอง , ประตูนาก ตามแต่ละท้องถิ่นจะเรียก
ในบางแห่งนั้นเมื่อถึงประตูสุดท้าย ผู้ที่กั้นประตูจะถามกลับว่า ท่านมาจากแห่งใด เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องตอบให้ถูกด้วยเช่นกันว่ามาจากที่ใด เช่น ข้าพเจ้าเดินมาทางตะพานทิพตะพานแสงตะพานเงิน และตะพานทอง จากนั้นผู้ที่ปิดประตูก็จะเปิดสายสร้อยที่กั้นออก ให้เฒ่าแก่ และพวกขันหมากเข้าไปข้างในได้
พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์
ในสถานที่จัดพิธีในปัจจุบัน จะมีการตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระพุทธรูป เมื่อได้ฤกษ์ คู่สมรสจุดธูปเทียนบูชาและกราบที่หน้าแท่น เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะไปนั่งบนตั่งเคียงตู่กัน เจ้าบ่าวจะนั่งทางด้านขวามือของเจ้าสาว มีเพื่อนเจ้าบ่าวและเจ้าสาวยืนอยู่ด้านหลังจะมีกี่คนก็ได้ แต่ว่าจะต้องเป็นจำนวนคู่ และควรที่จะหันหน้าไปในทิศที่เป็นมงคลแก่คู่บ่าวสาวด้วย แต่ถ้าไม่สะดวกให้หันหน้าไปในทิศตะวันออก และให้เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวเป็นผู้สวมมงคลให้เจ้าบ่า ว อาจจะมีการท่องคาถามงกุฎพระเจ้าหรือมงคลพระเจ้าขณะสวมด้วยก็ได้
อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทฺธ นาเมอิ
อิเมนา พุทะ ตํ โสอิ อิโส ตํ พุทฺธ ปิติอิ
เมื่อสวมมงคลและหลั่งน้ำพระพุทธมนต์เสร็จแล้วจึงค่อยเจิม(การหล ั่งน้ำพระพุทธมนต์มีความหมายถึง การชำระร่างกายให้บริสุทธิ์เป็นมงคล ชำระแล้วก็เจิม ซึ่งเก่ากับการแต่งตัว) แต่บางครั้งก็จะเจิมก่อนการหลั่งพระพุทธมนต์ก็ได้ ตามแต่ความคุ้นเคยของแต่ละครอบครัว
การเจิมนั้น จะใช้นิ้วหัวแม่มือ (ถือว่าเป็นนิ้วที่สกปรกน้อยที่สุด) / นิ้วนาง (เป็นแบบมุทราของเทวรูปพระวิษณุ) / นิ้วชี้ (เป็นนิ้วที่สวมแหวนพิรอดที่ถือว่าเป็นแหวนพระอุมา ป้องกันสิ่งที่ไม่เป็นมงคล) แต่ยกเว้นนิ้วกลางห้ามใช้ การเจิมนั้นจะเจิมแต้มเดียวก็ได้ หรือจะเจิม 3 แต้ม เรียงเป็นแถวตามนอน หรือเรียงเป็นรูปหน้าจั่วก็ได้
สังข์ เป็นภาชนะใส่น้ำมนต์รดคู่บ่าวสาวถือว่าเป็นมงคล เพราะว่ามีตำนานกล่าวว่า พระนารายณ์อวตารไปปราบสังหารสังสูร แล้วทรงล้วงเอาพระเวทออกมาจากสังข์ ด้วยเหตุนี้ที่ปากสังข์จึงมีรอยพระหัต์ของพระนารายณ์เป็นองค์พย านอยู่ จึงถือว่าได้สังข์เป็นสิ่งมงคลเพราะรองรับพระเวท อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า สังข์เป็นสิ่งสักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็น 1 ใน 14 สิ่ง ที่เทวดาและอสูรกวนเกษียรสมุทรได้ขึ้นมา ซึ่งได้ตกเป็นของพระนารายณ์ และพระกฤษร์ใช้สำหรับเป่าบันลือเสียงบังเกิดชัยชนะแก่ศัตรู
เมื่อเริ่มลงมือรดน้ำ ผู้ที่ทำหน้าที่ยื่นน้ำมนต์ในสังข์ไปให้แขกจะใช้ใครก็ได้ ไม่กำหนด แต่ควรที่จะเลือกเป็นผู้ใหญ่หน่อย ไม่ควรจะเด็กมากนัก การรดน้ำบางคนก็จะเจ้าบ่าวก่อน บางคนจะรดเจ้าสาวก่อนได้ทั้งนั้น สามารถรดได้ที่มือ บนศีรษะ น้ำที่รดจะไหลลงไปในขันที่มีดอกไม้อยู่เต็มเพื่อกันน้ำไม่ให้กร ะเด็นออกไป ขณะที่รดน้ำก็จะมีการให้พร หรือรดเฉยๆก็ได้เช่นกัน เมื่อแขกรดน้ำออกมาก็จะได้รับของชำร่วย มักจะนิยมแจกพวงมาลัย หรือไม่ก็ช่อบุหงา
การปลดมงคลออกจากศีรษะของคู่บ่าวสาว นั้นจะปลดออกมาเฉยๆพร้อมๆกันแล้วไปวางในพานที่เตรียมไว้ แล้วรวบมือคู่บ่าวสาวให้ลุกขึ้นพร้อมๆกัน (ในบางท้องถิ่นจะถือว่าถ้าหลังจากปลดมงคลแล้วถ้าใครลุกขึ้นก่อน จะเป็นใหญ่กว่าอีกฝ่ายหนึ่ง) หรือจะปลดมงคลออกจากศีรษะแล้วเด็ดสายสิญจน์ที่ต่อมงคลแผดให้ขาด ออกจากกัน แล้วมอบมงคลแฝดข้างละวงให้แก่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวพันข้อมือเอาไว ้ (ในอดีตจะเอาด้ายที่พันข้อมือไปยัดไว้ในที่นอนซึ่งทำค้างไว้ไม่ เย็บตลอด และให้ช่วยกันเย็บที่นอนปิดช่องที่เหลือ) จากนั้นก็รวบมือคู่บ่าวสาวและให้ลุกพร้อมๆกัน เป็นอันเสร็จพิธี